ว่านหางจระเข้
ชื่ออื่น หางตะเข้ (กลาง) ว่านไฟไหม้ (เหนือ) นำเต๊ก (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ต้น เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็กอยู่ในจำพวกว่าน
            ใบ มีลักษณะหนา และยาว ตรงโคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบจะเป็นหนามแหลม ถ้าใบมีสีเขียวกระขาว ใบนั้นจะอุ้มน้ำได้ดี ภายในจะเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน
            ดอก เป็นช่อ ออกดอกบริเวณกลางต้นและมีก้านช่อดอกยาวมากชูตั้งตรง ดอกมีสีแดงอมเหลืองเป็นหลอด บานจากล่างไปข้างบนคล้ายดอกซ่อนกลิ่นตูมๆ นานๆ จะได้เห็นดอกสักครั้งหนึ่ง
การใช้ประโยชน์
            ใช้เป็นอาหาร วุ้นจากใบ ทำลายแก้ว วุ้นแช่อิ่ม และทำน้ำว่านหางจระเข้
คุณค่าทางโภชนาการ วุ้นและน้ำเมือกจะมีสารพวก Aloetin A เป็นสารพวก Glycoprptein
 และมีสารอื่นๆ ยางสีเหลือง มีสารออกฤทธิ์ที่เป็นยาถ่าย เป็นสารจำพวกแอนทราควินโนน
            ใช้เป็นยา นำยางจากใบ ผสมกับสารส้มกิน รักษาโรคหนองใน ใบ ให้ยาดำใช้เป็นยาระบาย และเป็นยาถ่ายจะออกฤทธิ์ที่ลำไส้ใหญ่ วุ้นจากใบรักษาแผลไฟไหม้ การอักเสบของผิวหนัง และรักษาแผลที่เกิดจากการไห้มและจากเอกซเรย์ วุ้นใช้ฝานหนาๆ แล้วทาปูนแดงใช้ปิดขมับ รักษาอาการปวดศรีษะ ทำให้เย็น ดูดพิษรากและเหง้า นำไปต้มกิน รักษาโรคหนองใน
น้ำหว่านหางจระเข้
ส่วนผสม
            ใบว่านหางจระเข้                                         ๒        ใบ
            น้ำต้มสุก                                                        ๑         ถ้วย
            น้ำเชื่อม                                                                      ๑/๓     ถ้วย
วิธีทำ
            เลือกใบว่านหางจระเข้ที่มีขนาดใหญ่โตเต็มที่ ปอกเปลือกล้างน้ำให้หมดยางสีเหลืองใส่เครื่องปั่น เติมน้ำต้มสุก ปั่นให้ละเอียด ใส่ขวดเก็บไว้ในตู้เย็น ควรเตรียมดื่มไม่เกิน ๒ วัน